เรียกได้ว่าเป็นกระแสที่กลายเป็นไวรัลอย่างมากอยู่ในขณะนี้ หลังเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หรือ “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” อดีต ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และอดีตหัวหน้าชุดพญาเสือคนแรก ซึ่งเกษียณอายุราชการไป ได้ออกมาโพสต์คลิปวิดีโอแชร์ไอเดียธุรกิจ “ตะคร้ำแช่อิ่ม” ซึ่งเป็นธุรกิจหลังเกษียณ พร้อมทั้งแชร์สูตรวิธีการทำแบบทุกขั้นตอน … สามารถติดตามต่อได้ที่ :
โดยเจ้าของโพสต์ ระบุข้อความว่า “ธุรกิจหลังเกษียณทำ “ตะคร้ำแช่อิ่ม” ขาย จะมีใครอุดหนุนไหมครับ ผลสุก คือ รสชาติเหมือนมะขามป้อมจะขมกว่า แต่เนื้อเยอะกว่า และสรรพคุณ คือ เดินป่ากินแก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ไข้ครับ”… สามารถติดตามต่อได้ที่
อีกทั้ง ในคลิปยังเผยให้เห็นผู้โพสต์ได้อธิบายวิธีการทำ พร้อมบรรยายว่า “ต้นนี้เป็น “ต้นตะคร้ำ” ซึ่งเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ลักษณะทั่วไป ไม้ชนิดนี้จะขึ้นในป่าดิบแล้ง โดยเราจะนำผลของ “ต้นตะคร้ำ” นำไปแช่อิ่มหรือดอง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานหลังเกษียณ ซึ่งรสชาติผลสุกเหมือน “มะขามป้อม” แต่จะมีรสขมมากกว่า โดยผลของตะคร้ำจะมีคุณสมบัติแก้เจ็บคอ ชุ่มคอ คนที่เดินป่าหรือใช้การดำรงชีพ ก็จะใช้ผลของตะคร้ำรักษาโรคเช่นเดียวกัน โดยเบื้องต้นเราจะนำมาดอง หลังจากที่ดองเสร็จแล้ว เราจะทดลองไปแช่อิ่ม เพื่อดูว่าจะมี… สามารถติดตามต่อได้ที่
โดยวิธีการนำ “ผลต้นตะคร้ำ” ไปแช่อิ่มหรือดอง จะมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนแรกเตรียมเกลือดอง, เชื้อดอง, น้ำ และผลของตะคร้ำ
2. นำเชื้อดองใส่ลงน้ำและคนให้เข้ากัน
3. จากนั้นนำน้ำที่ผสมเชื้อดอง ใส่ลงในภาชนะที่บรรจุ “ผลตะคร้ำ” ที่ล้างน้ำจนสะอาดแล้ว … สามารถติดตามต่อได้ที่ :
ต่อมา สูตรดอง “ผลตะคร้ำ” ใส่ขวด (น้ำตาลสับปะรด + เกลือ) ต้องทำตามนี้!
1. นำผลตะคร้ำใส่ขวด (น้ำตาลสับปะรด + เกลือ) และเทน้ำดองใส่ให้เต็มขวด พร้อมรออีก 3 วัน
สำหรับ “ตะคร้ำ” (Garuga pinnata Roxb.) วงศ์ BURSERACEAE เป็นไม้ต้น ขนาดกลาง สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มเกือบกลม ลำต้นเปลาตรง โคนต้นแผ่ออกเกือบเป็นพูพอน เปลือกนอกสีเทา-น้ำตาล เป็นปุ่มและมีเกล็ดเล็กๆ เปลือกในเป็นริ้ว สีชมพู เหนียว มีน้ำยางสีชมพู ดอกมีสีเหลือง ผลแบบผนังผลชั้นในแข็ง ทรงกลม เบี้ยวเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง ภายในฉ่ำน้ำ มี 1-2 เมล็ด ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม และติดผลเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม… สามารถติดตามต่อได้ที่
อีกทั้ง การกระจายพันธุ์ในประเทศไทยพบหนาแน่นแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
นอกจากนี้ สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้ได้ทั้งผล ต้น ใบ เปลือกต้น นิยมใช้เป็นยาภายนอกภายใน เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้บิด ท้องร่วง ปวดท้อง ห้ามเลือด หรือล้างแผลเรื้อรังได้ แม้กระทั่งคั้นน้ำจากลำต้นหยอดตา แก้เยื่อตาอักเสบ ใบคั้นน้ำผสมน้ำผึ้งรักษาโรคหืด เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกระเพาะอาหาร ผลสุกตะคร้ำรับประทานได้และใช้เบื่อปลาได้ด้วย รวมถึงใช้ย้อมตอกให้มีสีดำ … สามารถติดตามต่อได้ที่
อย่างไรก็ตาม ส่วนที่นิยมใช้มากที่สุดคือต้นกับเปลือกต้น โดยนำมาแช่น้ำให้เด็กทารกอาบป้องกันผิวขึ้นผื่น นำมาตำพอกต้มอาบ ชาวเผ่าอีก้อใช้เป็นยาแก้อักเสบ ติดเชื้อแผลหนองและห้ามเลือด ชาวขมุ นำมาขูดใส่ลาบ สตรีหลังคลอดใช้ต้มอาบ ส่วนเปลือกต้นมีฤทธิ์ทำให้เลือดแข็งตัวเร็วอีกด้วย… สามารถติดตามต่อได้ที่